วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2552

คู่มือการใช้โปรแกรม Illustrator

1.ประวัติโปรแกรมIIIustrator

รู้จักเครื่องมือในการสร้างภาพ
เครื่องมือทั้งหมดในการสร้างภาพจะอยู่ในทูลบ็อกซ์ สังเกตดูที่มุมขวาล่างของเครื่องมือบางชิ้นจะมีรูปสามเหลี่ยมเล็กๆ อยู่ หมายถึง มีเครื่องมืออื่นๆ ในชุดเดียวกันซ่อนอยู่ การใช้งานก็ให้คลิ้กปุ่มเครื่องมือนั้นค้างไว้ ก็จะปรากฏเครื่องมืออื่นๆ ที่ซ่อนอยู่ออกมา

เลือกส่วนของวัตถุ
Selection Tool หรือ “ลูกศรสีดำ” ใช้เลือกวัตถุทั้งชิ้น Direct Selection Tool หรือ “ลูกศรสีขาว” ใช้เลือกแบบเจาะจงเฉพาะจุดหรือเส้น Group Selection Tool ใช้เลือกวัตถุทั้งชิ้น ต่างจากลูกศรสีดำ คือ หากมีวัตถุหลายๆ ชิ้นที่ถูก Group เป็นกลุ่มเดียวกันแล้ว ลูกศรสีดำจะเลือกทั้งกลุ่ม แต่ลูกศรสีขาว จะเลือกเพียงชิ้นเดียว Lasso Tool ใช้โดยการแดรกเมาส์รอบส่วนใดส่วนหนึ่งของวัตถุ เป็นการเลือกวัตถุทั้งชิ้นหรือทั้งกลุ่มเหมือนลูกศรสีดำ Direct Select Lasso Tool ใช้โดยการแดรกรอบจุด anchor ที่ต้องการ เป็นการเลือกเฉพาะจุดหรือเส้นเหมือนลูกศรสีขาว Magic Wand เป็นการเลือกโดยอ้างอิงค่าที่เหมือนกับวัตถุต้นแบบ ใครที่ใช้ Photoshop คงจะคุ้นเคยดี วิธีใช้ก็ให้ดับเบิลคลิ้กที่เครื่องมือรูป Magic Wand จะปรากฏหน้าต่างให้กรอก จุดสำคัญคือค่า Tolerance ซึ่งเป็นการระบุขอบเขตของค่าสี, เส้นหรือความโปร่งแสงใกล้เคียงที่ต้องการให้เลือก
เครื่องมือวาด Path
Pen Tool เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้วาด Path เมื่อเราคลิ้กวาด path ที่ตำแหน่งต่างๆ ลองสังเกตไปด้วยจะเห็นว่าเคอร์เซอร์นั้นเปลี่ยนไปเรื่อยๆ คือ จะมีสัญลักษณ์ประกอบ ช่วยบอกให้รู้ว่าเรากำลังจะทำอะไรกับ path เช่น เมื่อเคอร์เซอร์เข้าใกล้จุดที่เป็นตัวจบของวัตถุ ปากกาจะเปลี่ยนเป็นปากกาที่มี “o” นั่นคือ คุณกำลังจะปิดเส้น path ให้กลายเป็นวัตถุที่มีรูปทรงปิด เมื่อคุณปิด path แล้วเคอร์เซอร์จะเปลี่ยนกลับเป็นปากกาที่มี “x” นั่นหมายถึง เรากำลังจะเริ่มต้นวาดวัตถุใหม่อีกครั้ง เป็นต้น Add Anchor Point Tool ใช้เพิ่มจุด anchor โดยการคลิ้กลงไปที่ตำแหน่งใดก็ได้ระหว่างจุด anchor ที่มีอยู่แล้วบน Path จะเป็นการเพิ่มจุด anchor Delete Anchor Point Tool ใช้ลบจุด anchor ที่มีอยู่ Convert Anchor Point Tool ใช้เปลี่ยนรูปร่างของ Path เช่น เปลี่ยนจากเส้นตรงเป็นเส้นโค้งหรือเส้นโค้งเป็นเส้นตรง
สื่อสารด้วยอักษร
Type Tool ใช้สร้างข้อความปกติ Path Type Tool ใช้สร้างข้อความที่โค้งไปตามรูปร่างของ path Vertical Type Tool ใช้สร้างข้อความตามแนวตั้ง รองรับการใช้ภาษาจีนหรือญี่ปุ่นได้ดี Vertical Area Type Tool ใช้สร้างข้อความตามแนวตั้งภายในขอบเขตที่กำหนด Vertical Path Type Tool ใช้สร้างข้อความตามแนวตั้งที่โค้งไปตามรูปร่างของ path
เส้นสำเร็จรูป
Line Segment Tool ใช้สร้างเส้นตรงสำเร็จรูป Arc Tool ใช้สร้างเส้นโค้งสำเร็จรูป Spiral Tool ใ ช้สร้างเส้นวงขดก้นหอยสำเร็จรูป Rectangular Grid Tool ใช้สร้างตารางสี่เหลี่ยมสำเร็จรูป Polar Grid Tool ใช้สร้างตารางรัศมีวงกลมสำเร็จรูป
รูปร่างสำเร็จรูป
Rectangle Tool ใช้สร้างสี่เหลี่ยมทั้งจัตุรัสและผืนผ้า Rounded Rectangle Tool ใช้สร้างสี่เหลี่ยมทั้งจัตุรัสและผืนผ้าที่มีมุมโค้งมน Ellipse Tool ใช้สร้างวงกลมและวงรี Polygon Tool ใช้สร้างรูปหลายเหลี่ยม เช่น สามเหลี่ยม, ห้าเหลี่ยม, หกเหลี่ยม ฯลฯ Star Tool ใช้สร้างรูปดาว, รูปหลายแฉก Flare Tool ใช้สร้างรูปประกายรัศมี ให้เอฟเฟ็กต์เหมือนแฟลร์ในภาพถ่าย
สร้างเสน่ห์ให้เส้น
Paintbrush Tool สร้างความน่าสนใจให้ภาพด้วยการทำเส้นให้พลิ้วมีเสน่ห์ เปรียบเหมือนกับการใช้พู่กันวาดภาพ เส้นจะมีน้ำหนักหนักเบาแตกต่างกันตามจังหวะกดหรือแผ่วปลายพู่กัน เกิดเป็นลูกเล่นต่างๆ หรือที่เรียกว่า เส้นพลิ้ว ใช้ร่วมกับ Brush Palette ซึ่งมีให้เลือกใช้หลายชนิด
วาดเส้นอย่างอิสระ
Pencil Tool เป็นเครื่องมือที่ใช้วาดอย่างอิสระตามแต่มือพาไป แต่ถ้าเรามือไม่นิ่งก็จะทำให้เส้นขยุกขยิกสักหน่อย ที่ยากสำหรับหลายๆ คนคือ จะทำยังไงให้วาดมาบรรจบกับจุดเริ่มต้นได้ จริงๆ แล้วง่ายนิดเดียวเพียงแต่กดคีย์ Alt ค้างก่อนปล่อยเมาส์จะเป็นการเชื่อมจุดให้มาบรรจบกันเป็นรูปปิดโดยอัตโนมัติ Smooth Tool เป็นการปรับเส้น Path ให้นุ่มนวลขึ้น โดยพยายามรักษารูปร่างเดิมของ Path ไว้ให้มากที่สุด ผลที่เกิดขึ้นอาจทำให้จุดแองเคอร์ลดน้อยลง Eraser Tool ใช้ลบเส้น Path เพื่อเปลี่ยนจากรูปทรงปิดเป็นรูปทรงเปิด วิธีการใช้จะไม่เหมือนกับการใช้ยางลบมาถูไปเรื่อยๆ แบบ photoshop นะคะ แต่ใช้การแดรกเมาส์รอบบริเวณที่ต้องการลบและทำให้เกิดจุดปลายขึ้น 2 จุดตรงรอยต่อบริเวณที่ลบ
ปรับแต่งรูปร่าง
Rotate Tool ใช้หมุนวัตถุ Flip Tool ใช้พลิกวัตถุกลับด้านกับต้นแบบ โดยมีแกนอ้างอิงเหมือนกับการส่องกระจก Twist Tool ใช้บิดรูปร่างแบบน้ำวน โดยการตรึงบางจุดของวัตถุไว้ แล้วหมุนวัตถุรอบจุดอ้างอิง Scale Tool ใช้ย่อขยายขนาดของวัตถุ Shear Tool ใช้บิดวัตถุแบบเฉือน Reshape Tool ใช้ปรับแต่ง Path อย่างอิสระตามการแดรกเมาส์ หลักการทำงานจะเป็นการปรับโดยกำหนดจุดอ้างอิงที่เรียกว่าจุด “Highlight” โดยการเปลี่ยนรูปร่างจะพยายามรักษารายละเอียดโดยรวมของเส้น Path ไว้ให้มากที่สุด
ดัดรูปร่างด้วย Liquify Tool



ใช้ดัดรูปร่างเฉพาะส่วนที่ต้องการตามการแดรกเมาส์ โดยมีเคอร์เซอร์เป็นรูปวงกลมซึ่งกำหนดขนาดใหญ่เล็กได้เหมือนการกำหนดขนาดของ brush ใน photoshop
ปรับแต่งอย่างอิสระ
Free Transform Tool ใช้ปรับแต่งรูปร่างอย่างอิสระ โดยใช้ร่วมกับคีย์ต่างๆ เช่น กดคีย์ Ctrl และ Alt ค้างขณะแดรก จะเป็นการปรับแบบเฉือนและกดคีย์ Shift และ Alt และ Ctrl พร้อมกัน ขณะแดรกเมาส์ จะเป็นการปรับให้มีรูปร่างแบบ perspective เป็นต้น

ลดขนาดไฟล์ด้วย Symbol

เป็นชุดเครื่องมือใหม่ใน Tool Box ที่โดดเด่นมาก ใช้สร้างและปรับแต่ง Symbol ซึ่งเป็นการเอาวัตถุเดิมมาใช้ซ้ำในการสร้างภาพ ช่วยลดขนาดไฟล์โดยเฉพาะเมื่อนำไปใช้ในการออกแบบเว็บและแอนิเมชัน

กราฟหลากชนิด


ใช้สร้างกราฟรูปแบบต่างๆ ซึ่งสามารถเอารูปเข้ามาใช้แทนแท่งกราฟธรรมดาๆ เพื่อสื่อความหมายได้ดีขึ้น เช่น ใช้รูปขวดแทนแท่งกราฟเพื่อแสดงยอดขายแต่ละปี เป็นต้น ที่สำคัญคือ รูปกราฟนั้นยังลิงก์กับข้อมูลที่ป้อนเข้าไป นั่นคือ เมื่อเราแก้ไขข้อมูลในภายหลัง รูปกราฟก็จะเปลี่ยนตามให้อัตโนมัติ

สร้างมิติด้วยสี
Mesh Tool ใช้ไล่โทนสีให้วัตถุ โดยการตัดวัตถุออกเป็นส่วนๆ ตามเส้นตารางที่สร้างขึ้นเหมือนกับเส้นตาข่ายที่โยงใยรัดรอบวัตถุ ทำให้สามารถระบุสีในแต่ละจุดและไล่สีได้ละเอียดกว่าเครื่องมืออื่น วิธีการทำ เพียงแค่คลิ้กบนวัตถุก็จะเกิดเส้นตาข่าย จากนั้นก็ใช้ลูกศรสีขาวคลิ้กเลือกจุดที่ต้องการ แล้วเลือกสีใหม่ให้จุดนั้น จะเป็นการเฉลี่ยโทนให้กับพื้นที่บริเวณนั้นโดยอัตโนมัติ มีข้อควรระวังคือ เมื่อทำ Mesh แล้วจะมีผลต่อรูปร่างของ Path และจะไม่สามารถย้อนคืนกลับเป็นรูปเดิมได้อีก ดังนั้นควรจะทำไฟล์ต้นแบบสำรองไว้อีกชุดหนึ่งเผื่อแก้ไขภายหลัง Gradient Tool จะเป็นการไล่โทนสีโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัตถุ Eyedropper Tool ใช้ดูดค่าทั้งหมดจากวัตถุอื่นมาใช้กับวัตถุที่ถูกเลือก ไม่ว่าจะเป็นค่าสีของ Fill และ Stroke, ขนาดของเส้น, ชนิดของ Brush, รูปแบบของตัวอักษร รวมทั้ง Styles ด้วย วิธีการใช้ต้องคลิ้กเลือกวัตถุต้นแบบก่อน Paint Bucket Tool ใช้เทรูปแบบของสี, เส้น หรือ รูปแบบของตัวอักษรที่เลือกไว้แล้ว ต่างจาก Eyedropper Tool ตรงที่ไม่ต้องคลิ้ก เลือกวัตถุต้นแบบก่อน
ทำงานอย่างแม่นยำ
Measure Tool ใช้วัดระยะตามการแดรกเมาส์ จะแสดงทั้งระยะห่างและองศาการเอียง
ใส่ลูกเล่นให้เส้นและสี
Blend Tool เป็นการแปรเปลี่ยนทั้งรูปร่างและสีระหว่างวัตถุต้นแบบ 2 ชิ้นขึ้นไป โดยการคำนวณทิศทาง, จำนวนขั้นความถี่ของระดับชั้น และสี นิยมใช้ในการเปลี่ยนรูปร่างของเส้นหรือวัตถุ และไล่สีสร้างมิติในรูปร่างที่หลากหลายกว่า Gradient Tool
ทำภาพบิตแมพให้เป็นเวกเตอร์
Auto Trace Tool ใช้สร้างเส้นรอบรูปจากภาพที่นำเข้ามาใช้ในโปรแกรม เส้นที่ได้จากการคำนวณนี้จะมีรูปร่างใกล้เคียงภาพต้นฉบับเพียงใด ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของภาพต้นฉบับ
แบ่งภาพเป็นชิ้นๆ ใช้บนเว็บ
Slice Tool ใช้ตัดแบ่งพื้นที่ของชิ้นงานเป็นส่วนๆ ตามการแดรกเมาส์ สำหรับใช้บนเว็บ เพื่อให้ภาพปรากฏบนบราวเซอร์เร็วขึ้น เพียงแค่แดรกเมาส์เป็นรูปสี่เหลี่ยมให้ครอบคลุมพื้นที่ที่ต้องการ ภาพก็จะถูกตัดเป็นชิ้นเล็กๆ โดยอัตโนมัติ สามารถเซฟ html ได้ทันทีเมื่อเราสั่ง save for web Slice Selection Tool ใช้เลือกและปรับขนาดของกรอบ Slice ที่ตัดแบ่งไว้แล้ว
ตัดวัตถุให้ขาดจากกัน
Scissors Tool ใช้ตัดแบ่ง path เป็นสองส่วนให้ขาดจากกัน โดยทำให้เกิดจุดปลาย 2 จุดซ้อนทับกันบริเวณที่ตัด ทำให้รูปทรงปิดกลายเป็นรูปทรงเปิด Knife Tool เป็นการตัดแบ่งวัตถุอย่างง่ายๆ ตามการแดรกเมาส์อย่างอิสระ โดยยังคงรูปแบบของสี, เส้นและ Style เหมือนต้นฉบับ ทำให้สามารถตัดวัตถุโดยยังคงมีลวดลายต่อเนื่องกันได้
ควบคุมมุมมอง และพื้นที่การพิมพ์
Hand Tool ใช้เลื่อนพื้นที่ทำงานไปมาตามการแดรกเมาส์ Page Tool ใช้คลิ้กเพื่อกำหนดตำแหน่งพื้นที่การพิมพ์ Zoom Tool ใช้ย่อขยายมุมมองการทำงาน โดยการคลิ้กหรือแดรกเมาส์ ถ้ากดคีย์ Alt ค้างจะเป็นการย่อมุมมอง
จานเครื่องมือต่างๆ (Palette)
เปรียบเสมือนแผ่นหรือจานผสมสีของจิตรกร ที่เป็นแหล่งกำเนิดของเส้นสายหรือสีสันของภาพ จานเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้เป็นหน้าต่างขนาดเล็กที่รวบรวมคำสั่งและคุณสมบัติ (Option) ของเครื่องมือต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่ เราต้องใช้พาเลตเหล่านี้คู่กับเครื่องมือในทูลบ็อกซ์เสมอๆ เพื่อกำหนดรายละเอียดให้ได้ภาพตามต้องการ เราเรียกใช้งานพาเลทต่างๆ ได้โดยคลิ้กเลือกจากเมนู Window
การใส่สีให้วัตถุ
วิธีใส่สีใน Illustrator การระบุสีให้กับวัตถุมีสิ่งที่ต้องรู้เป็นพื้นฐานอยู่ 3 อย่างเพราะต้องใช้ควบคู่กันเสมอก็คือ
· หน้าต่าง Fill Box และ Stroke Box ใน Tool Box
· Color Palette
· Swatches Palette

หน้าต่าง Fill Box และ Stroke Box ในทูลบ็อกซ์
· Fill Box เป็นกรอบที่บอกสีของวัตถุ
· Stroke Box เป็นกรอบที่บอกสีของเส้น สองกรอบนี้ ถ้ากรอบไหนอยู่ด้านบน แปลว่ากรอบนั้นกำลังทำงานอยู่ ถ้าเราคลิ้กเลือกสีใน
Swatch Palette จะเป็นการระบุสีให้กับกรอบที่อยู่ด้านบน ถ้าคลิ้กลูกศรด้านบนจะเป็นการสลับสี Fill Box และ Stroke Box

Color Palette


เป็นเหมือนจานผสมสีของจิตรกร ใช้ผสมสีไว้ใช้เอง นอกเหนือจากสีสำเร็จรูปใน Swatches Palette สามารถเลือกสุ่มใน Color Slider หรือระบุค่าก็ได้ เรียกดูได้โดยไปที่เมนูแล้วคลิ้ก เลือก Window>Color

Swatches Palette
เปรียบเหมือนสีที่ผสมสำเร็จเก็บเป็นชุดๆ ไว้ใช้ซ้ำ ทำให้ไม่ต้องระบุค่าสีใน Color Palette ทุกครั้งที่ต้องการใส่สีให้วัตถุ เรียกดูได้โดยไปที่เมนูแล้วคลิ้กเลือก Window>Swatches

3. การสร้างและการปรับแต่งข้อความ

4.การวาดภาพโดยใช้รูปทรงสำเร็จรูป

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การศึกษากับสื่อมัลติมีเดีย

ทฤษฎีทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา
1.1 การสื่อสารการเรียนรู้
การสื่อสาร หรือ การสื่อความหมาย (Communication) หมายถึง การถ่ายทอด
เรื่องราว การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแสดงออกของความคิดและความรู้สึก เพื่อการ
ติดต่อสื่อสารข้อมูลซึ่งกันและกัน (กิดานันท์ มลิทอง, 2540) รูปแบบของการสื่อสาร
แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
1) การสื่อสารทางเดียว (One-Way Communication) เป็นการส่งข่าวสาร
หรือการสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่ผู้รับไม่สามารถตอบสนองทันที
(Immediate Response) กับผู้ส่ง แต่อาจจะมีผลป้อนกลับไปยังผู้ส่งในภายหลังได้
การสื่อสารในรูปแบบนี้จึงเป็นการที่ผู้ส่งและผู้รับไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ทันที
2) การสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication) เป็นการสื่อสารหรือ
การสื่อความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ในทันที โดยที่ผู้ส่งและผู้รับ
อาจจะอยู่ต่อหน้ากันหรืออาจอยู่คนละสถานที่ก็ได้ แต่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถมีการเจรจา
หรือการโต้ตอบกันไปมา โดยที่ต่างฝ่ายต่างผลัดกันทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับใน
เวลาเดียวกัน
ดังนั้น ในการที่จะเกิดการเรียนรู้ขึ้นได้นี้ มักจะพบว่าต้องอาศัยกระบวนการ
ของการสื่อสารในรูปแบบของการสื่อสารทางเดียวและการสื่อสารสองทาง ในลักษณะ
ของการให้สิ่งเร้าเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีการแปลความหมายของเนื้อหาบทเรียนนั้น และ
ให้มีการตอบสนองเพื่อเกิดเป็นการเรียนรู้ขึ้น ลักษณะของสิ่งเร้าและการตอบสนองใน
การสื่อสารนี้ หมายถึง การที่ผู้สอนให้สิ่งเร้าหรือส่งแรงกระตุ้นไปยังผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียน
มีการตอบสนองออกมา โดยผู้สอนอาจใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์
เป็นผู้ส่งเนื้อหาบทเรียน ส่วนการตอบสนองของผู้เรียน ได้แก่ คำพูด การเขียน รวมถึง
กระบวนการทั้งหมดทางด้านความคิด การเรียนรู้ การเรียนรู้ซึ่งอาศัยรูปแบบการสื่อสาร
ที่เกี่ยวข้องกับการให้สิ่งเร้าหรือแรงกระตุ้น การแปลความหมาย และการตอบสนองนั้นมีดังนี้
1) การเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารทางเดียว เช่น การสอนแก่ผู้เรียน
จำนวนมากในห้องเรียนขนาดใหญ่โดยการฉายวีดิทัศน์ โทรทัศน์วงจรปิด หรือวิทยุและ
โทรทัศน์การศึกษาแก่ผู้เรียนที่เรียนอยู่ที่บ้าน ซึ่งการเรียนการสอนในลักษณะเช่นนี้ควร
จะมีการอธิบายความหมายของเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนเข้าใจก่อนการเรียน หรืออาจจะ
มีการอภิปรายภายหลังจากการเรียน หรือดูเรื่องราวนั้นแล้วก็ได้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความ
เข้าใจและแปลความหมายในสิ่งเร้านั้นอย่างถูกต้องตรงกัน จะได้มีการตอบสนองและ
เกิดการเรียนรู้ได้ในทำนองเดียวกัน
2) การเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารสองทาง อาจทำได้โดยการใช้อุปกรณ์
ประเภทเครื่องช่วยสอน เช่น การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยหรือการใช้เครื่องช่วยสอน
เนื้อหาจะถูกส่งจากเครื่องไปยังผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนทำการตอบสนองโดยส่งคำตอบหรือ
ข้อมูลกลับไปยังเครื่องอีกครั้งหนึ่ง การเรียนการสอนในลักษณะนี้มีข้อดีหลายประการ
เช่น ความฉับพลันของการให้คำตอบจากโปรแกรมบทเรียนที่วางไว้เพื่อความเข้าใจที่
ถูกต้องแก่ผู้เรียน เป็นการทำให้ง่ายต่อการเรียนรู้และทำให้การถ่ายทอดความรู้บรรลุผล
ด้วยดี เป็นต้น
ถึงแม้ว่าการเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารสองทางนี้จะมีประสิทธิภาพดีต่อ
การเรียนรู้มากกว่าการสื่อสารทางเดียวก็ตาม แต่บางครั้งแล้วในลักษณะของการศึกษา
บางอย่างมีความจำเป็นต้องใช้การเรียนการสอนในรูปแบบการสื่อสารทางเดียว เพื่อการ
ให้ความรู้แก่ผู้เรียน ทั้งนี้เพราะจำนวนผู้เรียนอาจจะมีมาก และมีอุปกรณ์ช่วยสอน
ไม่เพียงพอ เป็นต้น
1.2 สื่อการเรียนรู้
กิดานันท์ มลิทอง (2540) กล่าวว่า สื่อนับว่าเป็นสิ่งที่มีบทบาทอย่างมากในการ
เรียนด้วยดี เป็นต้น ถึงแม้ว่าการเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารสองทางนี้จะมีประสิทธิภาพดีต่อ
การเรียนรู้มากกว่าการสื่อสารทางเดียวก็ตาม แต่บางครั้งแล้วในลักษณะของการศึกษา
บางอย่างมีความจำเป็นต้องใช้การเรียนการสอนในรูปแบบการสื่อสารทางเดียว เพื่อการ
ให้ความรู้แก่ผู้เรียน ทั้งนี้เพราะจำนวนผู้เรียนอาจจะมีมาก และมีอุปกรณ์ช่วยสอน
ไม่เพียงพอ เป็นต้น
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา
ประเภทของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา
ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2545) ได้กล่าวถึงสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา และ
ความหมายของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาแต่ละประเภท ดังนี้ e-Learning
และ CAI ต่างก็สามารถนำเสนอเนื้อหาบทเรียนในรูปของสื่อมัลติมีเดียทางคอมพิวเตอร์
นอกจากนี้รูปแบบการเรียนการสอนทั้งสองยังถือเป็นสื่อ รายบุคคล ซึ่งมุ่งเน้น
ให้ผู้เรียนมีโอกาสอ่านและทำความเข้าใจเนื้อหาตามความสามารถของตน
สามารถที่จะทบทวนเนื้อหาตามความพอใจหรือจนกว่าจะเข้าใจ สำหรับใน
ด้านของการโต้ตอบกับบทเรียนและการให้ผลป้อนกลับนั้น e – Learning จะขึ้นอยู่กับ
ระดับของการนำเสนอและการนำไปใช้ หากมีการพัฒนา e - Learning อย่างเต็มรูปแบบ
ในระดับ Interactive Online หรือ High Quality Online และนำไปใช้
ในลักษณะสื่อเติมหรือสื่อหลักผู้เรียนไม่เพียงจะสามารถโต้ตอบกับบทเรียนได้อย่างมีความหมาย
แต่ยัง จะสามารถโต้ตอบกับผู้สอนและกับผู้เรียนอื่นๆ ได้อย่างสะดวกผ่านทางระบบของ
e – Learning
นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถที่จะได้รับผลป้อนกลับจากแบบฝึกหัดและ
กิจกรรมที่ได้ออกแบบไว้ รวมทั้งจากครูผู้สอนทางออนไลน์ได้อีกด้วย ในขณะที่ CAI
นั้นลักษณะสำคัญของ CAI ที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ การออกแบบให้มีกิจกรรมที่ผู้เรียน
สามารถโต้ตอบกับบทเรียนได้อย่างมีความหมาย รวมทั้งการจัดให้มีผลป้อนกลับโดย
ทันทีให้กับผู้เรียนเมื่อผู้เรียนตรวจสอบความเข้าใจของตนจากการทำแบบฝึกหัด หรือ
แบบทดสอบ
ข้อแตกต่างสำคัญระหว่าง e-Learning กับ CAI อาจอยู่ที่ การที่ e – Learning
จะใช้เว็บเทคโนโลยีเป็นสำคัญ ในขณะที่ CAI เป็นลักษณะของการนำเอาคอมพิวเตอร์
มาใช้ในการเรียนการสอนตั้งแต่ยุค 1960 ซึ่งแต่เดิมมานั้นไม่ได้มีการใช้เว็บเทคโนโลยี
ความหมายของคำนี้จึงค่อนข้างยึดติดกับการนำเสนอบนเครื่อง Stand – Alone ไม่จำเป็น
ต้องมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายใดๆ แม้ว่าในระยะหลังจะมีความพยายามใช้การใช้คำว่า
CAI on Web บ้างแต่ก็ไม่ได้รับความนิยมในการเรียกเท่าใดนัก ความหมายของ CAI จึง
ค่อนข้างจำกัดอยู่ในลักษณะ Off – line ดังนั้นเทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนาบทเรียน
(Authoring System) ของ CAI และ e – Learning จึงมีความแตกต่างกันตามไปด้วย
ผู้เรียนที่ศึกษาจาก CAI จึงมักจะเป็นการศึกษาจากซีดีรอมเป็นหลัก ในขณะที่
e –Learning นั้นผู้เรียนสามารถที่จะศึกษาในลักษณะใดระหว่างซีดีรอมหรือจากเว็บก็ได้
ในปัจจุบันแม้ว่าจะมีความพยามในการสนับสนุนให้ Authoring System สามารถปรับให้
ใช้แสดงบนเว็บได้ แต่ยังพบปัญหาในด้านขนาดของแฟ้มข้อมูลที่ใหญ่และส่งผลให้การ
โหลดข้อมูลช้า รวมทั้งปัญหาในด้านการทำงานซึ่งไม่สมบูรณ์นัก
e – Learning และ WBI ต่างก็เป็นผลจากการผสมผสานระหว่างเว็บ
เทคโนโลยีกับกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการ
เรียนรู้และแก้ปัญหาในเรื่องข้อจำกัดทางด้านสถานที่ และเวลาในการเรียน นอกจากนี้
เช่นเดียวกันกับ WBI การพัฒนา e-Learning จะต้องมีการนำเทคโนโลยีระบบบริหาร
จัดการรายวิชา (Course Management System) มาใช้ด้วย เพื่อช่วยในการเตรียมเนื้อหา
และจัดการกับการสอนในด้านการจัดการ (Management) อื่น ๆ เช่นในเรื่องของ
คำแนะนำการเรียน การประกาศต่าง ๆ ประมวลรายวิชา รายละเอียดเกี่ยวกับผู้สอน
รายชื่อผู้ลงทะเบียนเรียน การมอบหมายงาน การจัดหาช่องทางการติดต่อสื่อสาร
ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และผู้เรียนด้วยกัน คำแนะนำต่าง ๆ การสอบ การประเมินผล
รวมทั้งการให้ผลป้อนกลับซึ่งสามารถที่จะทำในลักษณะออนไลน์ได้ทั้งหมด ผู้สอนเอง
ก็สามารถใช้ระบบบริหารจัดการรายวิชานี้ในการตรวจสอบพฤติกรรมการเรียนของ
ผู้เรียน ในกรณีที่ใช้การถ่ายทอดเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ รวมทั้งการตรวจสอบ
ความก้าวหน้าของผู้เรียนจากการทำแบบทดสอบหรือแบบฝึกหัดที่ได้จัดไว้
สำหรับความแตกต่างระหว่าง e-Learning กับ WBI นั้นแทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้
ความแตกต่างอาจได้แก่การที่ e - Learning เป็นคำศัพท์ (Term) ที่เกิดขึ้นภายหลัง คำว่า
WBI จึงเสมือนเป็นผลของวิวัฒนาการจาก WBI และเมื่อเว็บเทคโนโลยีโดยรวมมีการ
พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว สิ่งที่เคยทำไม่ได้สำหรับ WBI ในอดีต ก็สามารถทำได้สำหรับ
e – Learning ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่นในช่วง 4-5 ปีที่แล้วเมื่อมีการพูดถึง WBI การ
โต้ตอบ(Interaction) ค่อนข้างจำกัดอยู่ที่การโต้ตอบกกับครูผู้สอนหรือกับเพื่อนเป็นหลัก
โดยที่เทคโนโลยีการโต้ตอบกับเนื้อหาเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก อย่างไรก็ดีเมื่อกล่าวถึง
e - Learningในปัจจุบันหากมีการพัฒนา e - Learning อย่างเต็มรูปแบบอย่างเต็มรูปแบบ
ในระดับ Interactive Online หรือ High Quality Online การโต้ตอบสามารถ
ทำได้อย่าง ไม่มีข้อจำกัดอีกต่อไป เพราะปัจจุบันเรามีเว็บเทคโนโลยีที่ช่วยสำหรับการออกแบบ
บทเรียนให้มีการโต้ตอบอย่างมีความหมายกับผู้เรียน และดังนั้นจึงส่งผลให้เกิดการ
พัฒนาในด้านการนำไปประยุกต์ใช้ที่ยืดหยุ่นมากขึ้นกว่าเดิมมาก นอกจากนี้เดิมทีความหมาย
ของ WBI จะจำกัดอยู่ที่การสอนบนเว็บเท่านั้น เพราะแนวความคิดหลักก็คือเพื่อ
ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสารสนเทศบนเว็บเป็นหลัก และการเรียนการสอนมักจะเน้นเนื้อหา
ในลักษณะตัวหนังสือ (Text –Based) และภาพ ประกอบหรือวีดิทัศน์ที่ไม่ซับซ้อนเท่านั้น
ในขณะที่ในปัจจุบันผู้ที่ศึกษาจาก e–Learning จะสามารถเรียกดูเนื้อหาออนไลน์ก็ได้
หรือสามารถเรียกดูจากแผ่น CD-ROM ก็ได้ โดย ที่เนื้อหาสารสนเทศที่ออกแบบสำหรับ
e - Learning นั้นจะใช้เทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)
รวมทั้งมีการใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Mutimedia Technology) เป็นสำคัญ
จากบทความดังกล่าวข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า สื่อมัลติมีเดียแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
1) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เป็นสื่อมัลติมีเดียที่เน้นการใช้งานใน
เครื่องเดี่ยว (Stand Alone)
2) การสอนบนเว็บ (WBI) เป็นสื่อมัลติมีเดียที่เน้นการใช้งานในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
หรืออินทราเน็ตและเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
3) e – Learning เป็นสื่อมัลติมีเดียเชิงปฏิสัมพันธ์ที่สามารถใช้งานได้ทั้งใน
CD-ROM และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต พร้อมทั้งมีระบบบริหารจัดการรายวิชา ( CMS
หรือ LMS : Learning Management System)ทั้งสามรายการดังกล่าว
ข้างต้นเป็นพัฒนาการที่ต่อเนื่องกัน

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

น.ส. พวงผกา ศรีนิทัศน์
ชื่อ blog : tak-puang.blogspot.com
ชื่อ mail : srinitas.p@gmail.com